เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้หารือกับประธานาธิบดี นายแฟร์ดีนันด์ โรมูอัลเดซ มาร์โคส จูเนียร์ ของฟิลิปปินส์ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในข้อตกลงในวันถัดไปสำหรับ “พิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกทุเรียนผลสดของฟิลลิปปินส์ไปประเทศจีน” โดยเป็นประเทศที่ 3 ของโลก รองจากไทยและเวียดนามที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกทุเรียนสดไปจีนอย่างเป็นทางการ (ตารางที่ 1) ศ. ดร. ทัง จือมิน ผู้อำนวยการศูนย์อาเซี่ยน-จีนศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (CASPIM) ได้อัพเดทผู้เล่นใหม่ในตลาดจีนไว้ในหนังสือ “Fruit That Will Last: Thai Fruit Export to China”
จีนเป็นตลาดทุเรียนใหญ่ที่สุดของโลก ในปี 2564 มีการนำเข้าผลไม้ 822,000 ตัน ส่วนใหญ่มาจากประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยการส่งออกมากกว่า 1 ล้านตันต่อปี
ในทางกลับกันฟิลิปปินส์เป็นผู้ส่งออกทุเรียน 10 อันดับแรกของโลกนับตั้งแต่ปี 2557-2564 โดยในปี 2563 มีผลผลิตประมาณ 100,000 ตัน ประมาณร้อยละ 80 เป็นผลผลิตจากเมืองดาเวา ทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งสายพันธุ์ทุเรียนที่ได้รับความนิยม ได้แก่ สายพันธุ์ที่สืบเชื้อสายมาจากประเทศไทย เช่น Puyat, the Kobs, Duyaya, Nanam, Alcon Fancy และ GD-69 และสายพันธุ์ที่มาจากมาเลเซีย เช่น D101, D24 และ Red Prawn (รูปภาพด้านบนและรูปภาพที่ 1)
การส่งออกผลไม้สดของฟิลิปปินส์ไปจีนในปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 58 (1.15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยเป็นการส่งออกกล้วยหอมคาเวนดิช (Cavendish banana) สูงสุดคิดเป็นร้อยละ 75 รองลงมา คือ สับปะรดสด กล้วยไข่ มะละกอพันธุ์โซโล อะโวคาโดพันธุ์แฮส และมะพร้าวอ่อน อีกทั้ง การพัฒนาใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในปี 2566 ส่งผลให้ฟิลิปปินส์มีผลไม้ 6 ชนิด ที่สามารถแข่งขันได้เมื่อเทียบกับจำนวนผลไม้ 22 ชนิดของไทยในรายการอนุญาตนำเข้าผลไม้อย่างเป็นทางการของจีน (ตารางที่ 2)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: การแย่งชิงตลาดทุเรียนในจีน; https://cascenter.pim.ac.th/wp/archives/9070
เรียบเรียงโดย: ศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
แหล่งที่มา: yearofthedurian.com
รูปภาพ: https://www.yearofthedurian.com/2016/10/philippines-durian-varieties.html