เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 จีนประกาศศักยภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) ของปี 2565 ในด้านความมั่นคงของประเทศเป็นอย่างไรในปีเสือที่ปั่นป่วน และความหมายความมั่นคงในปี 2566 คืออะไร ศ.ดร.ทัง จือมิน ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (CASPIM) ได้อธิบายไว้ในบทวิจารณ์ล่าสุดของหนังสือพิมพ์ The People’s Daily
การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนในปี 2565 อยู่ที่ร้อยละ 3 ซึ่งสูงกว่าที่ World Bank คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.7 เมื่อสิ้นปีที่แล้วเล็กน้อย แต่ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยร้อยละ 10 ในช่วงรุ่งเรืองระหว่างปี 2521-2554 หรือ ร้อยละ 6.7 ระหว่างปี 2555-2564 แต่ก็ยังดีกว่าประเทศเศรษฐกิจหลักบางแห่งในโลก ขณะที่การเติบโตโดยประมาณของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นในปี 2565 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 2
มีความสำคัญพอที่จะกล่าวว่าเศรษฐกิจของจีนขณะนี้มีมูลค่าถึง 121 ล้านล้านหยวน (18 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) มีขนาดเล็กกว่า GDP โดยประมาณของสหรัฐอเมริกา (25.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) แต่ใหญ่กว่าของสหภาพยุโรป (16.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) หรือญี่ปุ่น (3.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) ซึ่งครองตำแหน่งที่สองของโลก นับเป็นสถิติสูงสุดใหม่ของประเทศหลังจากบรรลุเป้าหมายที่ 100 ล้านล้านหยวนในปี 2562 และ 110 ล้านล้านหยวนในปี 2563 ส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (GDP Per Capita) ของจีนมากกว่า 85,000 หยวน (12,741 เหรียญสหรัฐฯ) รายได้มวลรวมประชาชาติ (Gross National Income, GNI) ต่อหัวของประชากรกำลังเข้าใกล้ 13,205 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่แก้ไขโดยธนาคารโลกสำหรับประเทศที่มีรายได้สูง
เมื่อเทียบกับช่วงสามปีภายใต้การแพร่ระบาดของโควิด 19 สถานการร์ปี 2565 ดีขึ้นกว่าปี 2563 (ร้อยละ2.2) แต่แย่กว่าปี 2564 ที่ฟื้นตัว (ร้อยละ 8.4) ที่รัฐบาลตั้งเป้าที่ร้อยละ 5.5 ในปี 2565 แต่ดูเหมือนว่าตลอดทั้งปีจะถูกบั่นทอนด้วยโรคระบาดที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซึ่งสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก (ตารางที่ 1)
จุดอ่อนของเศรษฐกิจจีนโดยเฉพาะช่วงใกล้สิ้นปี 2565 คือ การบริโภคและการส่งออก ที่ยอดค้าปลีกรวมของสินค้าอุปโภคบริโภคในปีที่แล้วลดลงร้อยละ 0.2 คิดเป็น 43.97 ล้านล้านหยวน อัตราการเติบโตรายเดือนไตรมาส 4 ปี 2565 ลดลงทุกเดือน (ตารางที่ 2) โดยเฉพาะเดือนธันวาคมลดลงอย่างมากซึ่งมีการเติบโตระหว่างเดือนที่ร้อยละ 5 หวังว่าเข้าปีใหม่จะยังคงเดินหน้าต่อไป เนื่องจากแผนระยะกลางและระยะยาวของรัฐบาลในการขยายอุปสงค์ในประเทศอาจได้ผลเมื่อจีนฟื้นตัวจากโควิด
ปัจจัยภายนอกในปีที่แล้วในด้านการส่งออก การค้าสินค้าต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 คิดเป็น 23.97 ล้านล้านหยวน อย่างไรก็ตาม ภาพรายเดือนนั้นยังคงมืดมน โดยแสดงให้เห็นแนวโน้มที่ลดลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 และลดลงร้อยละ -0.5 ในเดือนธันวาคม (ตารางที่ 2) ในแง่เงินเหรียญสหรัฐฯ ตัวเลขยิ่งแย่ลงไปอีก ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -0.3 ร้อยละ -8.7 และ ร้อยละ -9.9 ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาของปี 2565 โดยปัจจัย 3 ประการที่ท้าทายสถานะของจีนในฐานะประเทศที่มีการค้าสินค้ารายใหญ่ที่สุด ได้แก่ อุปสงค์ที่อ่อนแอในยุโรปและสหรัฐอเมริกา การผลักดันการผลิตกลับไปยังสหรัฐอเมริกาและ NAFTA และการแข่งขันจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น เวียดนามและอินเดีย
ดัชนีการลงทุนในสินทรัพย์คงที่ของจีน (Chinese Fixed Asset Investment) (ไม่รวมครัวเรือนในชนบท) ในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 คิดเป็น 57.2 ล้านล้านหยวน ประกอบด้วย อุตสาหกรรมเบื้องต้น (Primary Industry) (1.4 ล้านล้านหยวน) อุตสาหกรรมที่สอง (Secondary Industry) (18.4 ล้านล้านเยน) และอุตสาหกรรมที่สาม (Tertiary Industry) (37.4 ล้านล้านหยวน) โดยอุตสาหกรรมที่สอง ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมที่สาม ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน (เช่น การอนุรักษ์น้ำ สาธารณูปการและการขนส่ง) และอสังหาริมทรัพย์ ส่วนการเติบโตด้านการลงทุนในปี 2565 นำโดยภาคการผลิต (ร้อยละ 9.1) และโครงสร้างพื้นฐาน (ร้อยละ 9.4) แต่ภาคอสังหาริมทรัพย์กลับลดลง (ร้อยละ -10.0)
สื่อกระแสหลักระหว่างประเทศและสถาบันวิจัยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนในปี 2566 จะเติบโตในช่วงร้อยละ 4.3-5.6 ตามที่เปิดเผยในการประชุม Central Economic Working Conference เมื่อวันที่ 15-16 ธันวาคมปีที่แล้ว มีประเด็นที่น่าสนใจในดังนี้ 1) การฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ 2) การเป็นหัวหอกด้านรถยนต์พลังงานใหม่ 3) การขยายบริการดูแลผู้สูงอายุ และ 4) การฟื้นฟูธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม
เรียบเรียงโดย: ศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
แหล่งที่มา: https://www.aseanstats.org/
รูปภาพ: https://www.dw.com/en/top-stories/s-9097