วันที่ 5 กันยายน 2565 บริษัท Hongjiu fruit (洪九果品) เป็นบริษัทผลไม้แห่งแรกของจีนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง มีมูลค่าตลาด 19,000 ล้านเหรียญฮ่องกง ซึ่งกลายเป็นผู้จัดจำหน่ายผลไม้ไทยของจีนที่ครอบครองตลาดและน่าจับตามองอยู่ในขณะนี้ ดังนั้น Prof. Dr. Tang Zhimin ผู้อำนวยการ ศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา สถาบันการจัดการปัญษาภิวัฒน์ (CASPIM) ได้อธิบายถึงบทบาทของบริษัท Hongjiu fruit ในรูปแบบการบูรณาการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Integration: SCI) ที่เสนอในงานวิจัยล่าสุด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติและสถาบันคลังสมองของชาติ
ในปี 2564 บริษัท Hongjiu fruit เป็นผู้จัดจำหน่ายทุเรียนรายใหญ่ที่สุดในประเทศจีน คิดเป็นร้อยละ 11 ของตลาด (จำนวน 93,774 ตัน มูลค่า 3.479 พันล้านหยวน) โดยบริษัทซื้อผลไม้โดยตรงจากสวนผลไม้ของไทยดำเนินการแปรรูปกับโรงงานในท้องถิ่นและกระจายผ่านศูนย์คัดแยกไปยังผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีกรายใหม่ (เช่น Hema) และซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศจีน ซึ่งการดำเนินการขนาดใหญ่ดังกล่าวเป็นไปไม่ได้เลยหากไม่มีเงินทุนจำนวนที่มากพอ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2559 บริษัท Hongjiu fruit ได้รับเงินทุนอย่างน้อย 2 พันล้านหยวน จากนักลงทุนภายนอก 17 ราย เช่น อาลีบาบา ทั้งนี้ ในปี 2564 การบูรณาการห่วงโซ่อุปทานให้ผลตอบแทนที่ดี มีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) จากทุเรียนร้อยละ 20.7 เทียบกับอุตสาหกรรมผลไม้เฉลี่ยที่ร้อยละ 15
Pagoda (百果园) เป็นอีกหนึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนที่ครอบครองห่วงโซ่อุปทานสายยาว ด้วยการมีเครือข่ายการค้าปลีก (ตารางที่ 1) มีร้านค้ามากกว่า 5,300 แห่ง ให้บริการสมาชิกมากกว่า 80 ล้านคน ใน 130 เมืองในประเทศจีน นับเป็นความร่วมมือรูปแบบใหม่กับฐานการผลิตในประเทศไทย และบริษัท Pagoda ยังช่วยเกษตรกรในท้องถิ่นปรับปรุงพันธุ์และเพิ่มทักษะการผลิตผลไม้เช่นกัน
ตารางที่ 1 ภูมิหลังของบริษัท Hongjiu fruit และ บริษัท Pagoda
Hongjiu fruit (洪九果品) | Pagoda (百果园) | |
ก่อตั้ง | 2002 | 2001 |
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ | ฉงชิ่ง | เซินเจิ้น |
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ | 5 กันยายน 2022
เข้าตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง มูลค่าตลาด 19,000 ล้านเหรียญฮ่องกง |
เตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง
มูลค่าตลาดประมาณ 12 ล้านหยวน |
รายได้ | 10 พันล้านหยวน | 10 พันล้านหยวน |
แผนธุรกิจ | ผู้จัดจำหน่ายผลไม้รายใหญ่ที่สุด
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทแนวหน้าของห่วงโซ่อุปทาน |
ผู้ขายปลีกผลไม้ชั้นนำในจีน
สร้างเครือข่ายแฟรนไชส์และ การมีสมาชิก |
ที่มา: เรียบเรีงโดย CASPIM
กลยุทธ์หนึ่งในการยกระดับการส่งออกผลไม้ของไทยคือการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์ (Demand Driven Supply Chain: DDSC) พร้อมกลไกการตรวจจับความต้องการ การสื่อสาร การปรับตัวที่ดีขึ้น และความร่วมมือในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน อีกทั้งแนวความคิดอุปทานที่ขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์สามารถเกิดขึ้นได้ผ่านการบูรณาการห่วงโซ่อุปทานที่ขับเคลื่อนโดยผู้นําเข้าหรือผู้ค้าปลีกรายใหม่ (จากทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายจีน) ซึ่งได้ขยายไปเกือบทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่การทําสวนไปจนถึงการค้าปลีกและการบริการลูกค้า
บริษัท Hongjiu fruit และ บริษัท Pagoda เป็นกรณีตัวอย่างที่ดีที่ในการอธิบายบทบาท 5 ด้าน หรือ 5i roles ดังนี้ 1) ด้านข้อมูล (Information) การตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อความต้องการของผู้บริโภคจากร้านค้าปลีก 2) การเริ่มต้น (Initiation) ด้วยการมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นหรือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นล่วงหน้าต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการของเครือข่าย SMEs หน่วยวิจัย และสวนผลไม้ 3) การเชื่อมต่อโครงข่าย (Interconnection) ด้วยการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน 4) การตรวจสอบ (Inspection) ด้วยการกำหนดและการใช้มาตรฐานที่สูงขึ้นในระบบการตรวจสอบย้อนกลับ 5) การลงทุน (Investment) การนำทรัพยากรทางการเงิน เทคโนโลยี และทรัพยากรมนุษย์มาใช้ประโยชน์เพื่อการประหยัดต่อขนาด ทั้งนี้ การยกระดับบทบาทของผู้บูรณาการห่วงโซ่อุปทานดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนผ่านสุ่ยุคดิจิทัล (digital transformation) จำป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนด้วยกฎระเบียบของภาครัฐที่บังคับใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรและ SMEs ของไทย และควรดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายจีนให้ปฏิบัติตามกฎหมายและได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์อย่างยุติธรรม
เรียบเรียงโดย: ศูนย์อาเซียน-จียศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒ์
แหล่งที่มา:
https://www.hjfruit.com/
http://www.pagoda.com.cn/
รูปภาพ:
https://www.hjfruit.com/