มุมมองในแง่ร้ายเกี่ยวกับ ZCP ของจีน (นโยบาย Zero Covid) มีผลตรงกันข้าม เนื่องจากในช่วงต้นของปี 2565 นี้การส่งออกทุเรียนไปจีนตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม ทำได้ดีกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 (632,483 ตัน เทียบกับ 586,249 ตัน) (ตารางที่ 1) เกิดอะไรขึ้นกับระบบโลจิสติกส์ของผลไม้ภายใต้บริบทโควิท 19 และสามารถเรียนรู้บทเรียนอะไรได้บ้าง ศ.ดร.ทัง จือมิน ผู้อํานวยการ ศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (CASPIM) ได้เล่าเรื่องราวไว้ในหนังสือที่กําลังจะตีพิมพ์เรื่อง“Fruit That Will Last: Thai Fruit Export to China”
ความตื่นตระหนกในความล้มเหลวของระบบโลจิสติกส์จากความแออัด ณ จุดตรวจบริเวณชายแดน โดยเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมซึ่งเป็นช่วงนับว่าเลวร้ายที่สุดต่อการขนส่งผ่านด่านโหย่วอี้กวน (Youyiguan) ที่ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นจาก 10-15 นาทีเป็นหลายชั่วโมง เนื่องจากต้องรอตรวจและฆ่าเชื้อโควิด-19 ที่ยาวนานขึ้น ส่งผลให้อัตราการขนส่งลดลงจากมากกว่า 1,000 คันต่อวัน เหลือน้อยกว่า 100 คันต่อวัน ซึ่งกระทบต่อการส่งออกทุเรียนไปจีนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมของปี 2565 ที่ลดลงเหลือ 6,680 ตัน และ 7,465 ตัน ตามลำดับ จาก 25,858 ตัน และ 42,562 ตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 (ตารางที่ 1)
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เปลี่ยนไปตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2565 ที่อัตราการขนส่งผ่านด่านโหย่วอี้กวนสามารถผ่านได้มากกว่า 300 คันต่อวันในช่วงกลางเดือนเมษายน และกลับมามากกว่า 1,000 คันต่อวันภายในวันที่ 1 ตุลาคม ส่งผลให้การส่งออกทุเรียนไปจีนปี 2565 ในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมเพิ่มขึ้นเป็น 219,379 ตัน และ 131,575 ตัน ตามลำดับ ซึ่งมากกว่า 122,642 ตัน และ 96,374 ตันในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 ปริมาณการส่งออกทุเรียนจากไทยไปจีนปี 2564-2565
เดือน | ปี 2565 (ตัน) | ปี 2564 (ตัน) | ราคา
ปี 2565 (หยวน/กก.) |
ราคา
ปี 2564 (หยวน/กก.) |
||
ปัจจุบัน | อัตราสะสม | ปัจจุบัน | อัตราสะสม | |||
มกราคม | 21,783 | 21,783 | 9,508 | 9,508 | 39.17 | 37.55 |
กุมภาพันธ์ | 6,680 | 28,463 | 16,350 | 25,858 | 40.69 | 36.89 |
มีนาคม | 7,465 | 35,928 | 16,704 | 42,562 | 41.76 | 36.97 |
เมษายน | 49,640 | 85,568 | 92,278 | 134,840 | 36.37 | 35.54 |
พฤษภาคม | 195,961 | 281,529 | 232,393 | 367,233 | 31.03 | 30.98 |
มิถุนายน | 219,379 | 500,908 | 122,642 | 489,875 | 30.68 | 33.04 |
กรกฎาคม | 131,575 | 632,483 | 96,374 | 586,249 | 32.04 | 34.00 |
สิงหาคม | 54,054 | 686,537 | 130,305 | 716,554 | 32.44 | 31.80 |
กันยายน | 14,075 | 700,612 | 66,844 | 783,398 | 34.32 | 33.69 |
ตุลาคม | 12,656 | 796,055 | 36.40 | |||
พฤศจิกายน | 13,120 | 809,176 | 38.81 | |||
ธันวาคม | 12,380 | 821,557 | 37.62 |
ที่มา: เรียบเรียงโดยCASPIM, ข้อมูลจากกระทรวงการศุลกากร สาธารณรัฐประชาชนจีน
บทเรียนจากการพลิกผัน
ประการแรก การเพิ่มประสิทธิภาพการผ่านด่านตรวจโดยเฉพาะในจุดตรวจผ่านแดนทางบกของฝั่งจีน (รูปภาพที่ 1) ดังนี้ 1) การยกตู้คอนเทนเนอร์ เปลี่ยนหัวรถลาก ณ สถานที่ที่กำหนด หลังจากนั้นผู้ขับรถชาวจีนจะขับหัวรถลากจีนไปรับตู้คอนเทนเนอร์เพื่อผ่านเข้าด่านจีน 2) การจัดตั้ง Green Lane เพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งผลไม้ และ 3) การขยายวันทำการด้านพิธีการศุลกากรเป็น 7 วัน หรือ 24 ชั่วโมงต่อวัน โดยผ่านการนัดหมายล่วงหน้า
ประการที่สอง ความหลากหลายของวิธีการขนส่ง (ตารางที่ 2) ในปี 2565 มีการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางทะเลและทางอากาศ รวมถึงการใช้ประโยชน์จากการขนส่งทางรางโดยเฉพาะเส้นทางรถไฟจีน-ลาวสายใหม่ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565
ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบวิธีการการขนส่งผลไม้ไทยไปจีน
วิธีการ | อัตราส่วน | จุดผ่านแดนหลักของจีน | ระยะเวลาการขนส่ง | ต้นทุน |
ทางบก | 48% (ปี 2564)
10.5% (40%) (แผนปี 2565) |
โหย่วอี้กวน โม่ฮาน ผิงเสียง ตงซิง | 2-3 วัน | 14 บาท/กก.
ใช้เส้นทาง R3A |
ทางรถไฟ | ผิงเสียง โม่ฮาน เหอโขว่ | 4-5 วัน
จากระยองถึงคุณหมิง |
ต่ำกว่า 25%
ของการขนส่งทางถนน |
|
ทางทะเล | 52% (ปี 2564)
83% (55%) (แผนปี 2565) |
เสอโข่ว หนานซา ฮ่องกง เจ้อเจียงชินโจว เซี่ยเหมิน เซี่ยงไฮ้ ซินกั่ง ชิงเต่า ต้าเหลียน ฝูโจว | 4-7 วัน
จากลาดกระบังถึงท่าเรือหลักของจีน |
12 บาท/กก.
จากลาดกระบังถึงเซี่ยงไฮ้ |
ทางอากาศ | <1% (ปี 2564)
6.5% (5%) (แผนปี 2565) |
เซินเจิ้น กว่างโจว คุนหมิง ฉงชิ่ง ปักกิ่ง หางโจว ผู่ตง หนานหนิง
เฉิงตู ฉางชา |
5 วัน
นับจากการเก็บเกี่ยวจากต้นจนถึงผู้บริโภค |
65 บาท/กก.
(7-8 ครั้ง ของการขนส่งทางทะเล) |
ที่มา: เรียบเรียงโดย CASPIM
ประการที่สาม ความพยายามของภาครัฐและภาคเอกชนไทยในการตรวจสอบและควบคุมโควิด-19 ที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทานโดยใช้กลไก 2P2S (คน (people) กระบวนการ (process) ระบบ (system) และโครงสร้าง (structure)) ในการออกใบรับรองการตรวจสอบและการฆ่าเชื้อโควิด-19 เพื่อลดความเสี่ยงในการปิดด่านตรวจผ่านแดนหากตรวจพบเชื้อ
เรียบเรียงโดย: ศูนย์อาเซียน-จียศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒ์
แหล่งที่มา:
https://www.customs.go.th/statistic_report.php?show_search=1&s=15mw8BosrCZ6LaeB
http://english.customs.gov.cn/
รูปภาพ:
http://www.lmcchina.org/eng/2022-04/03/content_41926360.html