ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียน-จีน ศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ Professor Dr. Tang Zhimin ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในการประชุมงานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรเพื่อพัฒนาประเทศ (การปรับตัวจาก Risk & Uncertainly) เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 ซึ่งเป็นมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ปี 2565 การประชุมในครั้งนี้ถูกจัดขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ Prof. Dr. Tang Zhimin ได้มีการอธิบายองค์ประกอบ กระบวนการและกลไกของห่วงโซ่อุปทานการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนภายใต้การศึกษาวิจัยโครงการยุทธศาสตร์การตลาดนำเพื่อการส่งออกผลไม้ไทยสู่ตลาดจีน รวมบริบทการแพร่ระบาด Covid – 19 ประกอบด้วย 1) การวิจัยและพัฒนา (R&D) 2) การจัดหาปัจจัยการผลิต (Input for production) 3) การทำการเกษตร/การทำฟาร์ม (Farming) 4) การรวบรวม (Collection) 5) การแปรรูป (Processing) 6) การส่งออก (Export) 7) การขนส่งข้ามแดน (Cross Border Logistics) 8) การนำเข้า (Import)/การจัดจำหน่าย (Distribution) 9) การค้าส่ง (Wholesale) การค้าปลีก (Retail) การสนับสนุน (Support) 10) การบริโภค (Consuming) และบทบาทของรัฐบาลไทยในแง่ของการจัดการ (Direction) กฎระเบียบ (Regulation) การส่งเสริมการเกษตร (Extension)การส่งเสริม (Promotion) การเจราจา (Negotiation)และบทบาทของรัฐบาลจีนเช่น กฎระเบียบ (Regulation) ภาษี (Taxation)และสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilitation) นอกจากนี้ ได้มีข้อเสนอแนวคิดการบูรณาการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Integration: SCI) เพื่อเป็นกลยุทธ์หลักที่มีห่วงโซ่อุปทานขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์ (Demand Driven Supply Chain: DDSC) และได้นำเสนอกรอบแนวคิดการบูรณาการห่วงโซ่อุปทาน SCI ในกรอบ 5i ประกอบด้วย ข้อมูล (Information) การริเริ่ม (Initiation) ความเชื่อมโยง (Interconnection) การตรวจสอบ (Inspection) และการลงทุน (Investment)
