PIMCAS เป็นคลังสมอง (Think Tanks) ที่มีบทบาทมากที่สุดของประเทศไทยในด้านจีนอาเซียนมีผลงานล่าสุดเป็นการศึกษาวิจัยโครงการ “ยุทธศาสตร์การตลาดนำเพื่อการส่งออกผลไม้ไทยสู่ตลาดจีน รวมบริบทการแพร่ระบาด Covid – 19” โดยทีมวิจัยได้มีการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยการสำรวจพื้นที่และการจัดประชุมกลุ่มย่อยมากกว่า 100 หน่วยงาน ครอบคลุม 20 จังหวัดของประเทศไทย และ 12 มณฑล/เมืองของจีน พร้อมด้วยศึกษาข้อมูลการตลาดของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่สำคัญในจีน เช่น TaoBao/Tmall, JD และ Pin Duo Duo
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยครั้งแรก ที่มีการอธิบายองค์ประกอบ กระบวนการและกลไกของห่วงโซ่อุปทาน ประกอบด้วย 1) การวิจัยและพัฒนา (R&D) 2) การจัดหาปัจจัยการผลิต (Input for production) 3) การทำการเกษตร/การทำฟาร์ม (Farming) 4) การรวบรวม (Collection) 5) การแปรรูป (Processing) 6) การส่งออก (Export) 7) การขนส่งข้ามแดน (Cross Border Logistics) 8) การนำเข้า (Import)/การจัดจำหน่าย (Distribution) 9) การค้าส่ง (Wholesale) การค้าปลีก (Retail) การสนับสนุน (Support) 10) การบริโภค (Consuming) และบทบาทของรัฐบาลไทยในแง่ของการจัดการ (Direction) กฎระเบียบ (Regulation) การส่งเสริมการเกษตร (Extension)การส่งเสริม (Promotion) การเจราจา (Negotiation)และบทบาทของรัฐบาลจีนเช่น กฎระเบียบ (Regulation) ภาษี (Taxation)และสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilitation) จากข้อมูลล่าสุดในปี 2564 คณะวิจัยได้ประมาณการขนาดตลาดผลไม้ไทยในจีนจะมีขนาดประมาณ 200 ล้านคน และได้อธิบายพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ 21 ประการของกลุ่มผู้บริโภค 3 กลุ่ม (ผู้บริโภครายใหม่ ผู้บริโภคที่ซื้อประจำ และ ผู้บริโภคที่ผู้เชี่ยวชาญด้านผลไม้ไทย) รวมถึงการให้ข้อมูลตลาดเชิงลึกผลไม้ไทยที่ส่งออกไปจีนที่สำคัญที่สุด 6 ชนิด (ทุเรียน มังคุด ลำไย มะม่วง มะพร้าวอ่อน และส้มโอ) ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่าร้อยละ 99 ของการส่งออกผลไม้ไทยไปจีน
ข้อมูลตลาดเชิงลึกของผลไม้ทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ 1) มูลค่า-ปริมาณการส่งออก และส่วนแบ่งในการส่งออกผลไม้ของไทยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา 2) คู่แข่งของผลไม้ไทยในปัจจุบันและคู่แข่งที่มีศักยภาพในจีน ส่วนแบ่งการตลาด กำลังการผลิต และฤดูกาลเก็บเกี่ยว 3) การผลิตผลไม้ในประเทศไทย พื้นที่ปลูกทั้งหมด ผลผลิต ราคาหน้าสวนใน 3 ปีที่ผ่านมา ฤดูกาลเก็บเกี่ยวและสัดส่วนการเก็บเกี่ยวรายเดือน และข้อมูลทางเทคนิคอื่นๆ เช่น ความเข้มข้นในการผลิต ต้นทุนต่อหน่วยโดยประมาณ สายพันธุ์เชิงพาณิชย์ที่สำคัญ และผลไม้ที่ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) 4) การให้ข้อสังเกตทางตลาดในประเด็น ตัวสินค้า แหล่งที่มา ผู้จำหน่าย และราคา 5) ข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค ที่มีทัศนคติเชิงบวกและเชิงลบที่สำคัญต่อผลไม้ไทย และคำที่ใช้ค้นหาผลไม้ไทยทางอินเตอร์เน็ต
การวิจัยนี้ ได้นำเสนอประเด็น 1) ผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหาการส่งออกผลไม้ไทยเนื่องจากมาตรการโควิดเป็นศูนย์ของจีน (ZCP: Zero Covid Policy) 2) บริบทด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการส่งออกผลไม้ ภายใต้เงื่อนไข ข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ระบบอัตโนมัติ (Automation) และโซเชียลมีเดีย (social media)
นอกจากนี้ ได้มีข้อเสนอแนวคิดการบูรณาการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Integration: SCI) เพื่อเป็นกลยุทธ์หลักที่มีห่วงโซ่อุปทานขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์ (Demand Driven Supply Chain: DDSC) และได้นำเสนอกรอบแนวคิดการบูรณาการห่วงโซ่อุปทานSCI ในกรอบ 5i ประกอบด้วย ข้อมูล (Information) การริเริ่ม (Initiation) ความเชื่อมโยง (Interconnection) การตรวจสอบ (Inspection) และการลงทุน (Investment) อย่างไรก็ตาม แม้การส่งออกผลไม้ไทยไปจีนที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายในไตรมาสแรกของปี 2565 แต่คณะวิจัยคาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกผลไม้ 6 ชนิดของไทย จะเติบโตจาก 138 พันล้านบาทในปี 2564 เป็น 296 พันล้านบาทในปี 2569
PIMCAS ได้ดำเนินโครงการวิจัยและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานภาครัฐและบริษัทต่าง ๆ ของประเทศไทยและจีนมาตั้งแต่ปี 2555 โดยรายงานวิจัยล่าสุดเป็นผลงานทางด้านการเกษตรซึ่งเป็นโครงการเกี่ยวกับส่งออกข้าวไปจีนและการจับคู่ธุรกิจสินค้าเกษตรแปรรูป และสำหรับผลงานการวิจัยปัจจุบันได้ริเริมและอำนวยการโดยสถาบันคลังสมองของชาติ (KNIT) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย