ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) คือการแข่งขันนวัตกรรมทางเทคโนโลยี – จีนวางแผนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 90% ใน 40 ปี
คาร์บอนพีคหมายถึง การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งจะไม่เพิ่มขึ้นอีกต่อไป และค่อย ๆ ลดลงหลังจากถึงจุดสูงสุด ความเป็นกลางทางคาร์บอนหมายถึง สถานะที่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สมดุลกับการดูดซับ
มากกว่า 100 ประเทศหรือภูมิภาคทั่วโลกได้ให้คำมั่นสัญญาที่ว่าด้วยจะทำความเป็นกลางทางคาร์บอนมากกว่า 65% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก และคิดเป็น 70% ของเศรษฐกิจโลก
จากมุมมองของจีน ผ่านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การประหยัดพลังงาน และการลดการปล่อยมลพิษ ตั้งแต่ปี 1990 ถึง 2020 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยของ GDP ลดลง 90% เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศมีธาตุที่เหมือนกัน การลดคาร์บอนจึงสนับสนุนการลดความเข้มข้นของ PM 2.5 การเปลี่ยนแปลงพลังงานเชิงลึกบรรลุผลภายใต้เป้าหมายของความเป็นกลางทางคาร์บอนจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมทางนิเวศวิทยาและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมาก ในอนาคตเมื่อสัดส่วนของแหล่งพลังงานทดแทน เช่น พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น ใครก็ตามที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทนจะมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจต้องอาศัยการพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยี
วัตถุประสงค์ของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีคือการสร้างเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำและคาร์บอนเป็นศูนย์และในระบบเทคโนโลยีคาร์บอนเชิงลบ นโยบายจะถูกกำหนดขึ้นในเวลาที่ต่างกันตามเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน และประเทศต้องจ่ายเงินสนับสนุนสำหรับสาธิตเทคโนโลยีที่อยู่ในขั้นตอน เช่น พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อได้เติบโตเต็มที่แล้ว นโยบายเงินอุดหนุนควรจะค่อย ๆ ถอนออกเพื่อให้การแข่งขันและการพัฒนาที่ดีในตลาด
นักวิชาการของจีนเน้นว่าการบรรลุเป้าหมายของความเป็นกลางทางคาร์บอนต้องใช้แนวทางนโยบายนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และต้องมีการฝึกอบรมสร้างบุคลากรใหม่ “ปัจจุบันเวลาของเราเหลืออยู่อีกไม่นาน ในการแข่งขันเทคโนโลยีรอบต่อไป เราจะต้องไม่ล้าหลัง”
ส่วนไทยนั้นถึงแม้จะไม่ได้เป็นประเทศที่ให้คำมั่นสัญญาว่าจะมีความเป็นกลางทางคาร์บอน แต่ไทยก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการส่งเสริมการลงทุนและลดต้นทุนทางการผลิต เพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงพลังงานทดแทนได้มากขึ้นและลดสัดส่วนพลังงานจากฟอสซิลให้ได้มากที่สุด
ปัจจุบันเทคโนโลยีพลังงานทดแทนของจีนพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตโดยบริษัทจีน มีต้นทุนต่ำกว่า เทคโนโลยีสหรัฐประมาณ 20% ดังนั้นการร่วมมือกับจีนทางด้านพลังงานทดแทนนั้นไทยจะได้ประโยชน์อย่างมาก
เรียบเรียงโดย ดร.วรรณฤดี ตั้งทรัพย์วัฒนา นักวิจัย ศูนย์อาเซียน จีนศึกษา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
แหล่งที่มา
http://www.xinhuanet.com/science/2021-06/16/c_1310009959.htm
https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/646073
https://blog.pttexpresso.com/energy-sources-in-thailand/
ประเทศที่ให้คำมั่นสัญญาว่าจะมีความเป็นกลางทางคาร์บอน
https://th.vvikipedla.com/wiki/Carbon_neutrality
แหล่งที่มารูปภาพ