กรมส่งเสริมการเกษตร มีหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดี การส่งเสริมการผลิตผลไม้ให้เหมาะกับยุคสมัย รวมถึงการบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบ ทั้งนี้ มองว่า มะขาม ส้มโอ ขนุน ชมพู่ และขนุน ยังมีโอกาสในการส่งออก
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการส่งเสริมการผลิตผลไม้ของไทย ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
1) ด้านราคาตลาด พิจารณาจากราคาผลไม้ย้อนหลัง 5 ปี ซึ่งหากราคาย้อนหลังในประเทศตกต่ำก็จะไม่ผ่านเกณฑ์การส่งเสริม
2) ด้านเกษตรกร ที่ต้องมีการยอมรับและยินดีในการปลูกผลไม้ชนิดนั้น
3) ด้านแนวโน้มการบริโภค ที่ต้องสอดคล้องกับเกณฑ์ด้านราคา
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรไทยยังนิยมปลูกทุเรียนโดยเฉพาะสายพันธุ์หมอนทอง เนื่องจาก มีเนื้อมาก เมล็ดลีบ ดังนั้น ทางภาครัฐจึงให้การสนับสนุนต่อการผลิตทุเรียนไทยด้วยการอาศัยกลไกลดังนี้
- การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเกษตรใน 13 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรด้านวิชาการ การขยายพันธุ์พืช ฯลฯ
- การส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อช่วยลดต้นทุนในการซื้อปุ๋ย
- การปรับปรุงบริหารจัดการระบบการผลิต การเพิ่มปริมาณผลผลิต สายพันธุ์ทุเรียน และการจับคู่ความต้องการด้วยการอำนวยความสะดวกระหว่างสวนกับบริษัทขนส่ง
- การบริหารจัดการในการเก็บเกี่ยวด้วยการให้ความรู้แก่เกษตรกร
- การส่งเสริมทุเรียนคุณภาพดีด้วยการไม่ตัดทุเรียนอ่อน ดังนี้
– การนับระยะเวลา 120 วัน นับจากดอกบานจึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
– การใช้เทคนิคการผสมเกสรเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต
– การบังคับใช้กฎหมายลงโทษ
รวมถึงการปรับใช้เทคโนโลยีในการผลิตและการตลาดด้วยการประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์และแพลตฟอร์มต่างๆ อาทิ
– farm book เพื่อลงทะเบียนเกษตรกร สวน รวมถึงการรับข่าวสารการเกษตร
– farm focus เพื่อใช้พยากรณ์ปริมาณผลผลิต
– แพลตฟอร์ม Thailandpostmart ด้วยการร่วมมือกับบริษัทไปรษณีย์ไทยในการจัดส่งสินค้า
– แพลตฟอร์ม ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com จัดทำโดยกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อแจ้งราคาสินค้าเกษตร
ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะฝ่ายเลขานุการ Fruit Board จึงเป็นหน่วยงานที่ช่วยผลักดันให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการทั้งจากภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาการส่งออกผลไม้ไทยอย่างเป็นระบบ
ที่มาข้อมูล: การสัมภาษณ์คุณเพ็ญระพี ทองอินทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมผลไม้ กรมส่งเสริมการเกษตร
ที่มารูปภาพ: คณะวิจัย
เรียบเรียงโดย สรวรรณ พ่วงแสง นักวิจัย ศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา