การส่งออกทุเรียนไทยไปจีนของคุณ Jiaoling Pan ใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายทางออนไลน์กว่าร้อยละ 80 อาทิ การจำหน่ายผ่าน We chat, Taobao เว็บไซต์บริษัท การPre-sale รวมถึงการฝากขายกับร้านค้าในตลาดผลไม้ เช่น ตลาดเจียซิงและตลาดเจียงหนาน ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับสินค้าภายใน 1 สัปดาห์
พฤติกรรมการบริโภคทุเรียนของชาวจีนในปัจจุบันนิยมซื้อทุเรียนลูกเล็กขนาด 2-3 กิโลกรัม เนื่องจาก ขนาดของครอบครัวมีขนาดเล็กลงรวมถึงความสะดวกในการซื้อซึ่งแตกต่างไปจากอดีตที่นิยมซื้อทุเรียนที่มีขนาดผลใหญ่ 5-6 กิโลกรัม
ปัจจุบันทุเรียนที่จำหน่ายในตลาดจีนมาจาก 3 ชาติ ประกอบด้วย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม ราคาจำหน่ายทุเรียน Musanking อยู่ที่ 300-200 บาท/กก. ขณะที่ทุเรียนไทยอยู่ที่ 80-500 บาท/กก. (สายพันธุ์ทุเรียนไทยที่ส่งออกไปจีนมี 32 สายพันธุ์ อาทิ หมอนทอง กระดุม ก้านยาว และชะนี) และทุเรียนเวียดนามมีราคา 30-50 บาท/กก.
สถานการณ์การแข่งขันหากเปรียบเทียบระหว่างทุเรียนไทยกับทุเรียน Musanking ของมาเลเซีย พบว่า ทุเรียนมาเลเซียมีความได้เปรียบทุเรียนไทย ดังนี้
1) ความเข้มแข็งหรือความชัดเจนของยี่ห้อที่จำหน่ายเป็นทุเรียนพรีเมียม
2) ความสม่ำเสมอด้านคุณภาพในด้านความสุกของทุเรียน ซึ่งต่างกับทุเรียนไทยที่มีการเก็บทั้งผลอ่อนกับผลแก่ปะปนกัน ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของทุเรียนไทยในสายตาผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ยังมองว่าประเทศไทยเป็นผู้ผลิตทุเรียนเป็นอันดับ 1 ของโลก เนื่องจากมีความหลากหลายทางสายพันธุ์ทุเรียนถึง 234 สายพันธุ์
ที่มาข้อมูล: การสัมภาษณ์คุณ Jiaoling Pan
รองนายก สมาคมการค้าผลไม้ยุคใหม่ ฝ่ายต่างประเทศ (MAFTA)
กรรมการ สมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุด (DMA)
กรรมการผู้จัดการ บริษัท รอยัล ฟาร์ม กรุ๊ปจำกัด (Thailand)
Managing Director of Zhejiang Unice Agricultural Technology Co., Ltd. (China)
ที่มารูปภาพ: คณะวิจัย
เรียบเรียงโดย สรวรรณ พ่วงแสง นักวิจัย ศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา