Xinhua News: ท่านประเมินว่าโควิด-19 ระลอกใหม่นี้มีผลกระทบทางเศรษฐกิจประเทศไทยอย่างไร? รัฐบาลไทยไม่ได้ใช้มาตรการล็อคดาวน์ทั้งประเทศเหมือนปีที่แล้ว เนื่องจากคำนึงถึงผลกระทบด้านเศรษกิจ แต่ใช้มาตรการที่คุมเข้มมากน้อยตามความรุนแรงของสถานการณ์ ท่านคาดว่าการระบาดครั้งนี้จะยาวนานแค่ไหนเมื่อเปรียบกับแนวโน้มปีที่แล้ว และสถานการณ์จะแย่ลงหรือดีขึ้นอย่างไร?
Prof.Dr. Tang Zhimin: เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 63 กระทรวงสาธารณสุขได้ยืนยันว่ามีผู้ติดเชื่อโควิดรายแรกในประเทศไทย ซึ่งมาจากสนามมวยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร และนำไปสู่การแพร่ระบาดที่มากขึ้น โดยถึงจุดสูงสุดในวันที่ 22 มีนาคม หลังจากนั้นตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงทุกวัน จนถึงวันที่ 12 พ.ค. จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ่นเป็นตัวเลขหลักเดียว
การแพร่ระบาดระลอกสองในประเทศไทยเริ่มขึ้นวันที่ 19 ธ.ค. เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นจาก 34 คน เป็น 576 คน ในวันที่ 18 ธ.ค. สาเหตุจากพบผู้ติดเชื้อในพื้นที่รายแรก เมื่อวันที่ 17 ที่ตลาดอาหารทะเลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการกักตัวและตรวจหาเชื้อของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด 1,192 ราย ผลปรากฎว่า 516 ราย ติดเชื้อ ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ
เมื่อสังเกตข้อมูลการแพร่ระบาดระลอกสองตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. 63 จนถึง ม.ค. 64 พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็ผันผวนขึ้นลง วันที่ 21 ธ.ค. 63 มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 809 คน วันที่ 20, 22, 30 ธ.ค และวันที่ 1 ม.ค. 64 ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ
เห็นได้ชัดว่านี่ไม่ใช่แนวโน้มปกติของการการแพร่ระบาดของไวรัส แสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวันกับความสามารถในการตรวจเจอเชื้อของรัฐบาลไทยมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ปัจจุบันด้วยความสามารถในตรวจหาเชื้อ โดยพบผู้ติดเชื้อใหม่ประมาณ 200 ถึง 500 คนทุกวัน แต่ปัญหาที่ควรจะพูดถึงคือจำนวนคนที่เสียชีวิตกับอัตราการเสียชีวิต: สถิติจนถึงวันที่ 12 ม.ค. 64 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยสะสม 10,830 ราย เป็นอันดับที่ 127 จาก 190 ประเทศทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 67 คน นับเป็นอันดับที่ 146 ของโลก แม้การระบาดลอกสองนี้จะมีผู้ติดเชื้อมากกว่าการระบาดครั้งแรก แต่ความสามารถในการตรวจหาเชื้อไม่เหมือนกันกับครั้งก่อน และไม่ได้แปลว่าการระบาดระลอกนี้จะรุนแรงกว่าครั้งก่อนอย่างแน่นอน
สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิตและอัตราการเสียชีวิตสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ของการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในประเทศไทยยังคงเป็นที่น่าพอใจเนื่องจากรัฐบาลรณรงค์ให้มีการรักษาระยะห่างทาสังคม และสวมหน้ากากอนามัย ส่วนโควิด-19 จะระบาดนานในประเทศแค่ไหน ก็ต้องคงขึ้นอยู่กับผลของ การกลายพันธุ์ของไวรัส การฉีดวัคซีน และการแพร่ระบาดทั่วโลก รวมถึงการป้องกันเข้าออกชายแดน ผลกระทบด้านลบของโควิด-19 ต่อประเทศไทยนั้น มีสี่ด้านหลักๆ คือ:
ด้านการท่องเที่ยว ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นร้อยละ15 จากยอด GDP ปี 62 มีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยเกือบ 40 ล้านคน มีรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาท ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาแทบไม่มีนักท่องเที่ยวเลย
ด้านการส่งออก จากข้อมูลของ WTO การส่งออกของประเทศไทยช่วงสามไตรมาสแรกของปี 63 ลดลงร้อยละ 8.3 เมื่อเปรียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้านเศรษฐกิจ การปิดเมืองทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก ด้านซัพพลายเชน การหยุดชะงักของซัพพลายเชน และการขาดแคลนแรงงานต่างชาติ
ผลกระทบสี่ข้อที่กล่าวมาแล้วนั้นจะมีผลอย่างมากต่อการบริโภคและการลงทุน การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกสองของประเทศไทยนั้นจะยังมีผลกระทบด้านลบต่อภาคการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และจะทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องล้มละลายไปด้วย
อย่างไรก็ตามถ้าการแพร่ระบาดโควิด-19 ในต่างประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อาจทำให้ธุรกิจส่งออกและซัพพลายเชนบางส่วนฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ หากประเทศไทยยังคงสามารถควบคุมการระบาดระลอกสองไว้ได้ รัฐบาลไทยก็จะ มีมาตรการที่คุมเข้มมากน้อยตามความรุนแรงของสถานการณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักของเศรษฐกิจที่เกิดจากการปิดประเทศ
ดังนั้นผลกระทบเชิงลบทางเศรษกิจของการแพร่ระบาดระลอกสองนี้จะไม่มากกว่าระลอกแรก ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในปี 64 อาจปรับตัวลดลงจากร้อยละ 3.6 เป็นร้อยละ 3.2 แต่อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้ยังคงสูงกว่าในปี 63 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวแบบติดลบร้อยละ 6.6
Xinhua News: ท่านคิดว่ารัฐบาลควรจะรักษาสมดุลในควบคุมโรคระบาดและผยุงเศรษฐกิจอย่างไร? ท่านคิดว่าประเทศไทยควรดำเนินนโยบายด้านการเงินการคลังอย่างไร?
Prof.Dr. Tang Zhimin: รัฐบาลไทยไม่ได้ใช้นโยบายปิดเมืองเหมือนปีที่แล้ว แต่ใช้มาตรการที่คุมเข้มมากน้อยตามความรุนแรงของสถานการณ์ แนวทางนี้ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของการระบาดระลอกแรกเพื่อรักษาสมดุลการควบคุมโรคติดต่อและการผยุงเศรษฐกิจ ส่วนนโยบายด้านการเงิน คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศในที่ประชุมวันที่ 23 ธ.ค. ว่ายังคงจะรักษาอัตราดอกเบี้ยที่รอยละ 0.5 ต่อไป ในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยได้เตรียมเงิน 4 แสนล้านบาทเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดเงิน และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกเงินกู้เป็นกรณีพิเศษ 5 แสนล้านบาท ทางด้านนโยบายการคลัง รัฐบาลใช้วิธีลดค่าใช้จ่ายและกู้เงินเพื่อระดมทุนจากสถาบันการเงิน 1.97 ล้านล้านบาท (ประมาณร้อยละ 13 ของ GDP)เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย 1 ล้านล้านบาทใช้เป็นค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ ช่วยเหลือเกษตรกรและร้านค้ารวมถึงส่งเสริมฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคม เช่น โครงการไทยเที่ยวไทย โครงการคนละครึ่ง ซึ่งช่วยบรรเทาความเดือนร้อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและวิสาหกิจขนาดกลางและผู้ค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19
ด้านเศรษฐกิจมหภาค ปัจจุบันนโยบายการเงิน และการคลัง ยังไม่เอื้อในการขยายอุปสงค์มวลรวมของเศรษฐกิจ รัฐบาลควรใช้วิธีบูรณาการนโยบาย มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างด้านอุปทาน หากมองสถานการณ์ของประเทศไทย ข้อริเริ่มแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI)เขตการค้าเสรีอาเซียน และ RCEP จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้ากับประเทศจีนทำให้แข็งแกร่งมากขึ้น โดย มูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศไทยในช่วงสามไตรมาศแรกของปี 63 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่แล้วลดลงร้อยละ 8.3 แต่มูลค่าการส่งออกของประเทศไทยไปประเทศจีนปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 รัฐบาลไทย-จีนร่วมมือแก้ไขปัญหาการขนส่งทางบกเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประกอบกับการฟื้นตัวของตลาดจีน ทำให้ระหว่าง ม.ค. ถึง ต.ค. ในปี 63 ประเทศไทยส่งออกผลไม้ไปประเทศจีนเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งมีมูลค่า 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 41
เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้รูปแบบการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป เร่งให้ธุรกิจต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งทำให้สร้างโอกาสได้มากมาย ในขณะที่ประเทศจีนอาศัยเทคโนโลยี 5G ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอุตสาหกรรมด้านอินเตอร์เนตในการเป็นผู้นำด้านอีคอมเมิร์ซ การค้าปลีกรูปแบบใหม่ ออนไลน์ และออฟไลน์ ครี่งปีแรกของปี 63 จำนวนโครงการทั้งหมดที่ประเทศจีนได้รับอนุมัติจาก BOI ถือเป็นจำนวนมากที่สุดในบรรดาการลงทุนจากต่างประเทศ บริษัทของประเทศจีนนำเทคโนโลยีและเงินทุนเข้ามาอัดฉีดให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
Xinhua News: ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยปี 63 อาจเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่หดตัวรุนแรงที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจปี 64 ท่านคิดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มอย่างไรในปี 63 และปี 64?
Prof.Dr. Tang Zhimin: ความอ่อนแอของเศรษฐกิจประเทศไทยปรากฎให้เห็นก่อนการแพร่ระบาดครั้งใหม่ของโควิด-19 ในปี 62 GDP ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 อยู่อันดับที่เก้าจากสิบอันดับของประเทศกลุ่มอาเซียน เหตุผลหลักคือเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ เช่น กัมพูชา เวียดนาม และอินโดนีเซียแล้ว ประเทศไทยเสียเปรียบในด้านต้นทุนแรงงาน อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนแล้ว ประเทศไทยยังคงนำหน้าในด้านความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน และคุณภาพแรงงาน
เศรษฐกิจประเทศไทยในปี 63 หดตัว ร้อยละ 6 ถึง ร้อยละ 7 ใกล้กับที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม หากในปี 64 ประเทศไทยสามารควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ สามารถคว้าโอกาสของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ใช้ประโยชน์จากตลาดจีน แหล่งเงินทุนและเทคโนโลยีจากธุรกิจของจีน ก็อาจทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยโตได้ประมาณ ร้อยละ 3
แปลและเรียบเรียงโดย ดร. วรรณฤดี ตั้งทรัพย์วัฒนา เจ้าหน้าที่อาวุโส (นักวิจัย) ศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา