การก้าวขึ้นสู่ผู้นำจีนในปี 2012 ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งมีนโยบายการขจัดความยากจนเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งปรากฎผลสัมฤทธิ์แล้วในปัจจุบัน ดังข้อเท็จจริงจากตัวเลขที่เป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จ คือ จำนวนประชากรที่ยากจน จำนวนหมู่บ้าน และจำนวนคนจนที่ภาครัฐให้เงินอุดหนุนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จีนขจัดความยากจนด้วย “วิธีแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งไปที่เป้าหมาย” ซึ่งอาศัยกลไกหลักในการขจัดความยากจน 5 แนวทาง ประกอบด้วย การพัฒนาด้านการผลิต การย้ายที่อยู่อาศัย การช่วยเหลือทางนิเวศ การพัฒนาการศึกษาด้วยการจัดสรรเงินอุดหนุน และการช่วยเหลือโดยใช้บัตรประกันสังคม
การก้าวขึ้นสู่ผู้นำจีนในปี 2012 ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งมีนโยบายการขจัดความยากจนเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งปรากฎผลสัมฤทธิ์แล้วในปัจจุบัน ดังข้อเท็จจริงจากตัวเลขที่เป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จ คือ จำนวนประชากรที่ยากจน จำนวนหมู่บ้าน และจำนวนคนจนที่ภาครัฐให้เงินอุดหนุนมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จีนขจัดความยากจนด้วย “วิธีแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งไปที่เป้าหมาย” ซึ่งอาศัยกลไกหลักในการขจัดความยากจน 5 แนวทาง ประกอบด้วย การพัฒนาด้านการผลิต การย้ายที่อยู่อาศัย การช่วยเหลือทางนิเวศ การพัฒนาการศึกษาด้วยการจัดสรรเงินอุดหนุน และการช่วยเหลือโดยใช้บัตรประกันสังคม
ประเทศจีนบรรลุผลสำเร็จการขจัดความยากจนตามแผนการปฏิรูประบบเศรษฐกิจปี 2012 ส่งผลให้จีนมีจำนวนประชากรที่ยากจนลดลงเรื่อยๆ จนเหลือ 6.6 ล้านคน ในปี 2019 หรือลดลงกว่า 92 ล้านคนจากจำนวนคนจน 98.99 ล้านคนเมื่อปี 2012 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มต้นโครงการ สถิตินี้ยังเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่ยากจนจำนวน 250 ล้านคนเมื่อปี 1987 ในสมัยก่อนที่จีนจะดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศ
สถิติล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2020 ยังพบว่า จำนวนพื้นที่ที่มีประชากรยากจนลดลงเหลือเพียง 52 หมู่บ้าน หรือลดลงราว 93% จากจำนวน 832 หมู่บ้านเมื่อตอนเริ่มต้นโครงการปัจจุบันจีนยังมีพื้นที่ยากจนใน 7 มณฑล/เขตการปกครอง ประกอบด้วย ซินเจียง ยูนนาน กุ้ยโจว กว่างซี กานซู่ เสฉวน และหนิงเซี่ย ในจำนวนนี้ ซินเจียงมีพื้นที่ยากจนสูงสุดจำนวน 10 หมู่บ้าน รองลงมาเป็นยูนนานและกุ้ยโจวจำนวน 9 หมู่บ้าน ขณะที่ หนิงเซี่ยมีพื้นที่ยากจนน้อยสุดเพียง 1 หมู่บ้าน
สำหรับการให้เงินอุดหนุนแก่คนจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยในปี 2019 รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนแก่คนจนเพียง 43 ล้านคน ลดลงจาก 53 ล้านคน และ 45 ล้านคน ในปี 2017 และ ปี 2018 ตามลำดับ
อนึ่ง เส้นความยากจนของจีนก่อนการประกาศนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนปี 2012 อยู่ที่ 2,300 หยวน โดยจีนมีเป้าหมายยกระดับเส้นความยากจนของประชากรให้อยู่ที่ 2,962 หยวน ภายในปี 2020
เพื่อให้ได้ผลผลสัมฤทธิ์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี (ค.ศ.2016-2020) จีนได้จัดตั้งสำนักงานบรรเทาความยากจนและการพัฒนา (State Council Leading Group Office of Poverty Alleviation and Development) เพื่อเป็นหน่วยงานที่ดูแลและเยียวยาด้านการขจัดความยากจนโดยเฉพาะ เน้น “วิธีแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งไปที่เป้าหมาย” พร้อมทั้งจัดทำโครงสร้างและกลไกหลักในการขจัดความยากจนด้วยระบบการลงทะเบียนคนจนทั่วประเทศ
ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะส่งเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญ ประกอบด้วย คณะมนตรีแห่งรัฐ (State Council) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำหมู่บ้านและผู้ช่วยเลขาธิการพรรคฯ ประจำหมู่บ้านไปตรวจสอบและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ รายได้ รวมถึงปัญหาความลำบากที่ประสบอยู่ เพื่อวางแผนช่วยเหลือให้เหมาะและตรงตามความต้องการของแต่ละบุคคลอย่างถูกต้องแม่นยำ
ทั้งนี้ จีนกำหนดกลไกขจัดความยากจน 5 แนวทาง ดังนี้
1. การพัฒนาด้านการผลิต ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น การพัฒนาธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ โดยการสร้างเครือข่ายสื่อสารระหว่างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่ให้เกิดความเชื่อมโยงกับผู้ซื้อภายนอก และการขยายช่องทางตลาด
2. การย้ายที่อยู่อาศัยไปที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ
3. การช่วยเหลือทางนิเวศ เป็นการช่วยเหลือด้านพลังงาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการให้ค่าตอบแทนแก่คนจนที่เข้าทำงานในโครงการด้านวิศวกรรมนิเวศวิทยาและการท่องเที่ยว
4. การพัฒนาการศึกษาด้วยการจัดสรรเงินอุดหนุน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และการฝึกอบรมทักษะ
5. การช่วยเหลือโดยใช้บัตรประกันสังคม คือ การให้เงินอุดหนุนแก่ผู้มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนที่รัฐบาลท้องถิ่นประกาศเพื่อสร้างสวัสดิการพื้นฐานและความมั่นคงในการดำรงชีวิต
การที่ประเทศจีนประสบความสำเร็จในการขจัดความยากจนแล้วนั้น ในส่วนของประเทศไทยจะอาศัยความสำเร็จนั้นมาเป็นต้นแบบในการต่อสู้กับความยากจนในบริบทของประเทศได้อย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป
ที่มาข้อมูล :
- CGTN (china global television network
- State Council Leading Group for Poverty Alleviation & Development
- State Council Leading Group Office of Poverty Alleviation and Development
ที่มาภาพ :
เรียบเรียงโดย สรวรรณ พ่วงแสง นักวิจัยศูนย์อาเซียน-จีนศึกษา